เทคนิคใส่ฟันปลอมอย่างไร ให้ใส่สบาย ไม่เหมือนใส่ฟันปลอม
ข้อแนะนำสำหรับผู้ใส่ฟันปลอมครั้งแรก ปรับตัวกับฟันปลอมอย่างไรให้ใส่สบาย
สำหรับผู้ที่เพิ่งเคยใส่ฟันปลอมครั้งแรก หลังจากทำฟันปลอมได้คุณภาพตามมาตรฐาน และมีเทคนิคการทำฟันปลอมที่ถูกต้องดีแล้ว ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องเรียนรู้การใช้งานฟันปลอมที่ถูกต้อง และปรับตัวให้คุ้นชินกับฟันปลอมสักระยะหนึ่งก่อน จึงจะเห็นผลลัพธ์ของการใส่ฟันปลอมอย่างสบายใจ
ข้อแนะนำสำหรับผู้ใส่ฟันปลอมครั้งแรก และ เทคนิคการปรับตัวให้ใส่ฟันปลอมสบาย
-
ระยะแรกของการเริ่มต้นใส่ฟันปลอม
ความรู้สึกคับไปทั้งปากและลิ้น เป็นสิ่งแรกที่ผู้ใส่ฟันปลอมทุกคนต้องเจอ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกเหมือนอมของชิ้นใหญ่ไว้ในปากอยู่ตลอดเวลา แต่ความรู้สึกนี้จะอยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้น และจะค่อยๆ หายไป เมื่อผู้ป่วยใช้งานฟันปลอมไประยะหนึ่งจนเกิดความเคยชินแล้ว
ในช่วงที่ใส่ฟันปลอมใหม่ๆ ผู้ป่วยอาจมีน้ำลายไหลออกมาเรื่อยๆ เพราะประสาทสัมผัสในช่องปากไวต่อการผลิตน้ำลายเพื่อย่อยอาหาร ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการกลืนน้ำลาย แต่หากรู้สึกกลืนน้ำลายลำบาก พะอืดพะอม ให้ใช้เทคนิคอมลูกอมหวานๆ ไว้ในปากแล้วค่อยกลืนน้ำลาย การใช้ความหวานของลูกอมเข้าช่วย จะเป็นการฝึกให้ช่องปากเข้ากับฟันปลอมได้ไวมากขึ้นด้วย - การบดเคี้ยวอาหาร
ฟันปลอมชนิดถอดได้ ที่มีฐานทำมาจากพลาสติก หรือวัสดุโลหะร่วมกับพลาสติก สามารถใช้แรงในการบดเคี้ยวอาหารได้ไม่เกิน 7 กิโลกรัม หากบดเคี้ยวมากกว่านี้อาจสร้างความเสียหายให้กับเนื้อเยื่อฟันที่อยู่ด้านล่างฐานฟันปลอมได้ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรปรับอาหารให้มีความเหมาะสมสำหรับการบดเคี้ยวด้วยฟันปลอม
ในช่วงแรกควรทานอาหารอ่อนนิ่มที่ไม่ต้องใช้แรงในการบดเคี้ยวมาก หรือ หั่นอาหารให้เป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนรับประทาน หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีความเหนียว เคี้ยวยาก รวมถึงอาหารที่ต้องใช้ฟันกัดแทะเปลือกออก
เทคนิคการฝึกกินด้วยฟันปลอมในระยะเริ่มต้น หันมาใช้ช้อนที่มีขนาดเล็กลง เช่น ช้อนชา เพื่อควบคุมปริมาณอาหารแต่ละคำที่ใส่เข้าปาก เคี้ยวช้าๆ และเคี้ยวด้วยฟันหลังทั้งด้านซ้ายและด้านขวาพร้อมๆ กัน เพื่อป้องกันฟันปลอมกระดก เนื่องจากยังใช้ลิ้นไม่เก่ง และหลีกเลี่ยงการใช้ฟันซี่หน้ากัดอาหาร - การพูดคุยสนทนา
ส่วนใหญ่แล้วผู้มีความจำเป็นต้องสวมใส่ฟันปลอมแบบทั้งปาก มักจะเป็นผู้สูงอายุที่ช่องปากมีการเสื่อมสภาพตามอายุขัย พอผู้สูงอายุได้ทำฟันปลอม ก็มักจะคิดว่าถ้าใส่ฟันปลอมแล้ว จะสามารถพูดคุยอย่างชัดเจนได้เลยในทันที แต่อาจต้องพบกับความผิดหวัง เมื่อถึงเวลาต้องเข้าสังคมและยังไม่สามารถพูดได้อย่างฉะฉาน เพราะยังไม่คุ้นเคยกับฟันปลอม ทำให้ช่วงแรกๆ ผู้สูงอายุหลายคนไม่อยากใส่ฟันปลอม ประสบความล้มเหลวในการฝึกใช้ฟันปลอม ตรงนี้ผู้ป่วยต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า การใส่ฟันปลอมนั้นต้องใช้เวลาในการปรับตัว และต้องหมั่นฝึกพูดขณะที่มีฟันปลอมอยู่ในปาก
เทคนิคการฝึกพูดขณะใส่ฟันปลอม โดยเฉพาะเวลาออกเสียงตัวพยัญชนะ ส.เสือ, ซ.โซ่ หรือ ช.ช้าง ให้ฝึกอ่านช้าๆ เปล่งเสียงในระดับที่ดังกว่าปกติเล็กน้อย อย่างน้อยวันละ 20 นาทีขึ้นไป จะช่วยให้ลิ้นเริ่มเคลื่อนไหวรับกับฐานฟันปลอมได้อย่างคุ้นชิน หากใช้เวลาฝึกฝนไปอย่างต่อเนื่อง ลิ้น ริมฝีปาก และ กระพุ้งแก้ม จะประสานการทำงานร่วมกันอย่างเคยชินไปทั้งระบบเอง
ดังนั้นในระยะแรกของการใส่ฟันปลอม หากผู้ป่วยยังพูดไม่ค่อยชัด ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมทางสังคมที่อาจทำให้รู้สึกประหม่า หรือ หากมีงานสังคมสำคัญก็ควรวางแผนทำฟันปลอมเอาไว้ล่วงหน้าตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้เวลาตัวเองได้ฝึกฝนการพูดคุยจนคล่องแคล่วเสียก่อน แล้วผู้ป่วยจะค้นพบว่าการทำฟันปลอมช่วยเสริมความมั่นใจ ยิ้มสวย ฟันเรียงตัวเป็นระเบียบเรียบร้อย มีกำลังใจใส่ฟันปลอมไปได้อีกนาน - อาการแบบไหน ควรกลับไปให้ทันตแพทย์ทำการตรวจอีกครั้ง
บางคนใส่ฟันปลอมแล้วมีอาการเจ็บเนื้อเยื่อรอบๆ ฐานฟันปลอม หรือ เจ็บบริเวณใต้ฐานฟันปลอม ไม่ควรถอดฟันปลอมออกมาทำการบิดแก้ไขฐานเอง หรือ ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ตะไบขัดแต่งให้ฟันปลอมสั้นลง เพราะผู้ป่วยไม่อาจทราบตำแหน่งที่มีปัญหาได้อย่างแน่ชัด และไม่ทราบว่าฟันปลอมต้องมีการปรับแต่งแก้ไขมากน้อยเพียงใด อาจส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพของฟันปลอม ทำให้ครั้งต่อไปใส่ฟันปลอมแล้วหลวม ฟันปลอมหลุดออกจากปากได้ง่าย ใส่ไม่พอดี อาจต้องทำฟันปลอมชิ้นใหม่อีกครั้ง
หากผู้ป่วยได้รับความเจ็บปวด หรือ ไม่สบายช่องปากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันจากการใส่ฟันปลอมในช่วงแรกๆ ควรกลับไปให้ทันตแพทย์ทำการตรวจดูอีกครั้ง เพื่อทำการแก้ไขฟันปลอมให้พอดี และรับกับเนื้อเยื่อในช่องปากมากขึ้น จะช่วยให้การฝึกฝนใส่ฟันปลอมของคุณเป็นไปอย่างราบรื่น คุ้นชินกับฟันปลอมได้เร็วมากขึ้น
มีฟันปลอมใส่แล้ว ก็ต้องดูแลรักษาฟันปลอมอย่างถูกต้องด้วย
ผู้สวมใส่ฟันปลอมควรหมั่นดูแลทำความสะอาดฟันปลอมเป็นประจำ แช่น้ำฟันปลอมทุกครั้งที่ไม่ใช้งาน และที่สำคัญคือ ไม่ควรใส่ฟันปลอมตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน เพราะจะทำให้เนื้อเยื่อข้างใต้ฟันปลอมเกิดการบวมแดง เหงือกอักเสบ ติดเชื้อขึ้นมาได้ ควรถอดฟันปลอมออกพักทุกครั้งก่อนนอนจะเป็นการดีที่สุด
ผู้สูญเสียฟันจริงบางคนอาจมีข้อจำกัดต่างๆ ที่ทำให้ไม่สามารถสวมฟันปลอมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การทำรากฟันเทียมเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้ผู้สูญเสียฟันจริง สามารถกลับมาใช้ฟันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพครบทุกซี่ โดยไม่ต้องถอดฟันปลอมเข้าๆ ออกๆ เพราะรากฟันเทียมจะติดแน่นอยู่กับกระดูกขากรรไกร ทำหน้าที่เสมือนเป็นฟันแท้ซี่หนึ่งของเรา เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการบดเคี้ยวอาหารได้อย่างน่าพึงพอใจ
หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ต้องการใส่ฟันทดแทน แต่ไม่รู้ว่าควรจะใส่ฟันปลอม หรือ ฝังรากฟันเทียมดี วิธีใส่ฟันทดแทนแบบไหนจึงจะเหมาะกับสุขภาพช่องปากของคุณมากที่สุด สามารถเข้าพบทีมทันตแพทย์ผู้มากประสบการณ์ จากคลินิกทันตกรรมเดนทัลอิมเมจ Dental Image นครสวรรค์ คลินิกทำฟันนครสวรรค์ที่พร้อมและยินดีให้คำปรึกษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพราะศูนย์ทันตกรรมรากฟันเทียม Dental Image ก่อตั้งขึ้นเพื่อดูแลปัญหาทางสุขภาพฟันของคนไทย อย่างเข้าใจภาระรายจ่ายอันหนักอึ้ง ที่มักจะทำให้ผู้ป่วยไม่ประสบความสำเร็จในการใส่ฟันทดแทน ด้วยข้อจำกัดด้านค่าบริการรักษา
คลายทุกความกังวลเกี่ยวกับการทำรากฟันเทียม ราคาสูง จะรักษารากฟัน ที่ไหนดี เพียงเข้ามาพบทันตแพทย์ที่ คลินิกทำฟันนครสวรรค์ Dental Image ให้คุณหมอช่วยวินิจฉัยสุขภาพช่องปากของคุณ พร้อมเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด ภายใต้ค่าบริการรักษาที่เป็นกันเอง ทำฟันปลอม ใส่รากฟันเทียม ราคาคุ้มค่าที่สุด ที่คลินิกทันตกรรมเดนทัลอิมเมจ Dental Image นครสวรรค์
สนใจทำฟันปลอม คลินิกทันตกรรม Dental Image นครสวรรค์ รักษารากฟันเทียม ติดต่อได้ที่
โทร : 056-311955, 061-6840468, 061-7989821