รากฟันเทียม คือ วัสดุฟันปลอมที่ใช้ทดแทนรากฟันจริงที่หลุดออกไป ถูกออกแบบให้มีลักษณะคล้ายกับรากฟันจริง เนื้อผิวสัมผัสรอบตัวรากเทียมคล้ายกับตัวน็อตหรือสกรู ทำมาจากวัสดุไทเทเนียม ซึ่งเป็นวัสดุโลหะที่เข้ากันได้ดีกับร่างกายของมนุษย์ เมื่อทันตแพทย์ทำการฝังรากฟันเทียมลงในกระดูกขากรรไกรของคนไข้แล้ว รากเทียมจะยึดติดเป็นหนึ่งเดียวกับขากรรไกร และฝังอยู่ภายในช่องปากของคนไข้ได้อย่างยาวนาน
การทำรากฟันเทียม (Dental Implant) เป็นหนึ่งในวิธีใส่ฟันปลอมชนิดติดแน่น เมื่อคนไข้ทำการฝังรากฟันเทียมแล้ว รากเทียมจะยึดติดเป็นส่วนหนึ่งของภายในช่องปากอย่างถาวร ไม่สามารถถอดออกได้ด้วยตัวเอง ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียม ถือว่าเป็นวิธีใส่ฟันทดแทนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด คนไข้สามารถใช้งานบดเคี้ยวอาหารได้ใกล้เคียงกับฟันจริง และยังเป็นการใส่ฟันทดแทนที่มีความเสมือนจริง ฟันดูสวยงามอย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุดอีกด้วย
ส่วนประกอบและวัสดุของรากฟันเทียม
รากฟันเทียม ทำมาจากวัสดุไทเทเนียม ซึ่งเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่เข้ากันได้ดีกับชีววิทยาของร่างกายมนุษย์ มีความแข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยทั่วไปรากฟันเทียมจะประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ดังต่อไปนี้
- ตัวรากเทียม (The Fixture) คือ ส่วนฐานของรากฟันเทียม บางครั้งเรียกว่า เสารากฟันเทียม มีลักษณะเป็นสกรูทรงกระบอกขนาดเล็ก เป็นส่วนที่ใช้ฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรของคนไข้ จึงถูกออกแบบมาให้มีทรงเรียว เพื่อเลียนแบบการทำงานของรากฟันจริงตามธรรมชาติ
เสารากฟันเทียมทำหน้าที่ยึดโยงกับเนื้อเยื่อภายในช่องปาก และส่วนประกอบอื่นๆ ของรากฟันเทียมให้เข้าที่ โดยส่วนใหญ่ผลิตจากวัสดุไทเทเนียม และยังมีนวัตกรรมรากฟันเทียมสมัยใหม่จากวัสดุเซอร์โคเนีย โดยทั้ง 2 วัสดุสามารถผสานเข้ากับกระดูกขากรรไกรและเนื้อเยื่อเหงือกของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี โดยไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ - ตัวยึดรากเทียม (The Abutment) คือ ส่วนต่อขยายของรากฟันเทียม ใช้รองรับการวางครอบฟันทับไว้ส่วนบน ตัวยึดรากฟันเทียมจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างส่วนของรากฟันเทียมที่อยู่เหนือขอบเหงือก และตัวรากเทียมที่อยู่ใต้ขอบเหงือกลงไป
- ตัวสกรู (The Screw) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ยึดทุกส่วนของรากฟันเทียมให้เป็นชิ้นเดียวกัน ตัวสกรูนี้มีบทบาทสำคัญในการทำให้รากฟันเทียมมีความทนทานในการใช้งานระยะยาว ช่วยให้รากฟันเทียมยึดติดกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างแน่นหนา
เมื่อพูดถึงตัวสกรูหลายๆ คนอาจกำลังนึกถึงสกรูทั่วไป แต่สกรูรากฟันเทียมนี้จะมีการออกแบบมาอย่างพิถีพิถัน เพื่อรองรับแรงบดเคี้ยวและแรงกัดที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องภายในช่องปาก มีผลต่อการใช้งานฟันโดยตรง ตัวสกรูส่วนใหญ่จะประกอบด้วยวัสดุหลักจากไทเทเนียม หรืออาจมีส่วนประกอบของโลหะทนทานชนิดอื่นๆ ปะปนมาด้วย
ทำรากฟันเทียมแล้ว หากเข้าเครื่อง MRI จะเป็นอันตรายหรือไม่?
หนึ่งในคำถามยอดฮิตของผู้สนใจทำรากฟันเทียม เกี่ยวกับวัสดุหลักของรากเทียมที่ทำมาจาก 'ไทเทเนียม' คนไข้อาจเกิดความกังวลเกี่ยวกับปฏิกิริยาต่อเครื่องตรวจจับโลหะในสนามบิน หรือการเข้ารับการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI ในอนาคต ซึ่งแท้จริงแล้วผู้ฝังรากฟันเทียม สามารถเดินผ่านเครื่องตรวจจับโลหะในสนามบินได้ตามปกติ และสามารถเข้าเครื่อง MRI ได้อย่างไม่ต้องกังวลใจ
ปัจจุบันเครื่อง MRI ในสถานพยาบาลมีความหลากหลายของการใช้งานในการวินิจฉัยทางการแพทย์ ใช้รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยในการเอ็กซเรย์ ทำให้สามารถแสดงภาพของเนื้อเยื่ออ่อนภายในร่างกายของมนุษย์ เพื่อให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยโรคได้อย่างละเอียด เมื่อเราเจ็บป่วยและต้องเข้ารับการตรวจด้วยเครื่อง MRI แพทย์ผู้ทำการตรวจ หรือนักเทคนิครังสีจะแจ้งให้ถอดโลหะออกจากร่างกายก่อนเข้าเครื่อง เนื่องจากปฏิกิริยาของเครื่อง MRI จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กแรงสูง เกิดการสะสมความร้อนในชิ้นโลหะ และทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของชิ้นโลหะนั้นๆ ได้
สำหรับผู้ฝังรากฟันเทียมภายในช่องในปาก วัสดุรากฟันเทียมทำมาจากโลหะไทเทเนียม หรือ ไทเทเนียมอัลลอยด์ (Titanium Alloy) ซึ่งเป็นประเภทของโลหะที่มีผลน้อยมากกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในเครื่อง MRI หรือแทบไม่มีผลเลย เนื่องจากรากฟันเทียมมีขนาดเล็กมาก ถูกห้อมล้อมด้วยโครงกระดูกขากรรไกร และโดยส่วนใหญ่ประเภทของโลหะที่ไม่อนุญาตให้ผ่านเข้าเครื่อง MRI จะเป็นโลหะชนิดที่แม่เหล็กดูดติด แต่ประเภทของโลหะที่ใช้ในทางทันตกรรมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุอมัลกัม (Amalgam) ที่ใช้อุดฟัน หรือไทเทเนียมในรากฟันเทียม หรือตัววัสดุโลหะครอบฟัน สามารถเข้าเครื่อง MRI ได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด
ผู้ฝังรากฟันเทียมสามารถสบายใจได้ ใส่รากฟันเทียมแล้ว สามารถเข้าเครื่อง MRI ได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้มีรากฟันเทียมต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่อง MRI ควรแจ้งให้แพทย์ผู้ทำการตรวจทราบด้วยว่า ท่านมีรากฟันเทียมฝังอยู่ในปาก เพื่อให้แพทย์สามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบในการรักษาต่อไป หากบริเวณที่ต้องการตรวจเนื้อเยื่ออ่อนอยู่ใกล้กันกับบริเวณช่องปาก ผลลัพธ์ของการตรวจด้วยเครื่อง MRI อาจได้รับผลกระทบอยู่บ้างในเรื่องของคุณภาพความชัดเจนของภาพที่ได้รับ ซึ่งแพทย์จะทำการประเมินตามความเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้การเข้าเครื่อง MRI จะไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาอันตรายใดๆ ต่อผู้ฝังรากฟันเทียมอย่างแน่นอน
ผู้สูญเสียฟันที่สนใจทำรากฟันเทียม หรือต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการทำรากฟันเทียมเพิ่มเติม สามารถขอคำแนะนำปรึกษากับทันตแพทย์ด้านรากฟันเทียม จากคลินิกทำฟันนครสวรรค์ Dental Image นครสวรรค์ ศูนย์ทันตกรรมรากฟันเทียมแห่งแรกในประเทศไทย ที่เปิดให้บริการทำรากฟันเทียมราคาพิเศษ เติมเต็มทุกความฝันของคนไทย ที่อยากกลับมามีรอยยิ้มสวยอีกครั้ง ทำรากฟันเทียม Straumann ราคาคนไทยเข้าถึงได้ ภายใต้คุณภาพการให้บริการระดับมาตรฐานสากล
คลินิกทำฟันนครสวรรค์ Dental Image นครสวรรค์ มีห้องปฏิบัติการทางทันตกรรมแบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ วางแผนการรักษาโดยใช้เทคโนโลยีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทันสมัย เพื่อให้การรักษารากฟันเทียมแม่นยำสูงสุด เพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จ มีทั้งรากฟันเทียมวัสดุไทเทเนียม และรากฟันเทียมวัสดุเซอร์โคเนีย คนไข้สามารถเข้ามาปรึกษาทันตแพทย์ด้านรากฟันเทียมโดยเฉพาะ จากคลินิกทำฟันนครสวรรค์ Dental Image นครสวรรค์ ได้ในทุกเวลาทำการ ฟรี!
สะดวก รวดเร็ว ทันสมัย ไว้ใจเลือกศูนย์ทันตกรรมรากฟันเทียม เดนทัลอิมเมจ (Dental Image Clinic) ผู้ให้บริการทางทันตกรรมแบบครบวงจร พร้อมรักษามาตรฐานการบริการ และพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป
สนใจทำรากฟันเทียม ทำฟันนครสวรรค์ คลินิกทันตกรรม Dental Image นครสวรรค์ ติดต่อได้ที่
โทร : 056-311955, 061-6840468, 061-7989821